พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการฯ ศูนย์สุขวิทยาจิต อธิบายว่าพฤติกรรมทั้งสามแบบนี้เริ่มต้นเหมือนกัน คือ จากการ กระตุ้นตัวเอง เพียงเล็กน้อย จนติดเป็นนิสัย และกลายเป็น ความเคยชิน ในที่สุด แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ ความรุนแรงของพฤติกรรม ทั้งสามนี้ต่างกัน "เขย่าขาเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป กัดเล็บอาจเป็นพฤติกรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สุดท้ายถอนผม ถ้าถอนน้อยๆ ไม่เป็นไร แต่ถ้าถอนซ้ำๆ ที่เดิมมากๆ …ชักไม่ธรรมดาค่ะ"
เขย่าขา…แค่เสียบุคลิก
การเขย่าขาเป็นอาการที่พบได้ทั่วๆ ไป ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนัก มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ซึ่งคุณหมอบอกว่า อาจเป็นผลมาจากการดูแลสั่งสอนที่ว่า ผู้หญิงจะต้องเรียบร้อย สาวน้อยจึงบังคับกิริยาอาการมากกว่า ในขณะที่พื้นฐานอารมณ์ของเด็กผู้ชาย ก็มักอยู่ไม่ค่อยนิ่งกว่าเด็กผู้หญิงอยู่แล้ว ทั้งผู้ใหญ่ก็มักปล่อยไม่เข้มงวด เรื่องกิริยาอาการเท่าเด็กหญิง
"ทำไมต้องเขย่าขา เหตุผลแรกอาจเริ่มจากความเบื่อ จึงต้องหาอะไรสักอย่างทำเพื่อกระตุ้นตัวเอง แล้วก็เคยชิน เมื่อความเคยชินของเด็กเกิดไปขัดกับสิ่งที่พ่อแม่คาดหวัง การเขย่าขาจึงถูกมองว่าเป็นปัญหา เรามักจะพบบ่อยในครอบครัวที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม เวลาเห็นเด็กนั่งเขย่าขาก็จะทนไม่ได้ ซึ่งตรงนี้กลายเป็นความขัดแย้ง และเกิดปัญหาทางอารมณ์ตามมา แทนที่จะหยุดเขย่า โดนจี้จุดก็ยิ่งเขย่ามากขึ้นอีก ทางแก้คือ ควรหากิจกรรมอื่นมาเบนความสนใจ อย่าไปจี้จุดเขา หมอก็เป็นคนหนึ่งที่สมัยเด็กๆ ติดนิสัยเขย่าขา แล้วอยู่ๆ มันก็หายไปได้เอง…ตรงนี้ขึ้นอยู่กับคนมองมากกว่า"
คุณหมอบอกว่า เราสามารถพบเด็กที่มีการกระตุ้นตัวเองสูง และค่อนข้างรุนแรงได้ตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ บางคนกระตุ้นตัวเองด้วยการเอาหัวโขกพื้นบ้าง โขกฝาบ้าง เพียงเพราะเขาเบื่อ หรืออยากให้คนสนใจ เด็กอีกกลุ่มที่พบว่ามีการกระตุ้นตัวเองสูงคือ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งมักจะนั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าเห็นเด็กเขย่าขาแล้วจะต้องเป็นสมาธิสั้นหมดทุกคนหรอกนะคะ ต้องดูอาการอื่นประกอบด้วยค่ะ เช่น ความสนใจสั้น ซุกซนมาก หกล้มหกลุกบ่อย เจ็บตัวได้ง่าย และค่อนข้างก้าวร้าวกว่าเด็กทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องแยกประเด็นออกจากการเลี้ยงดูโดยไม่ได้สอนวินัยให้กับเขาด้วย เพราะเด็กที่ไม่ได้ถูกสอนวินัยนี้ เวลาที่เขาเครียดมักจะแสดงออกในลักษณะซนมาก แต่ถ้าตัดประเด็นนี้ได้ก็ให้สงสัยว่าเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้นได้
วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น